ประวัติ ของ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

อาคารอำนวยการ 1 ในอดีต

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ถือกำเนิดจาก “โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์” ซึ่งในระยะเริ่มแรกโรงเรียนยังไม่มีสถานที่ตั้งและอาคารเรียนถาวรจึงได้อาศัยสถานที่ชั่วคราว ณ อาคารเรียนของโรงเรียนวัดดินดอน และโรงฉันวัดดินดอน โดยได้เปิดทำการสอนครั้งแรกในระดับชั้น ม.ศ.1 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2516 มีนักเรียนรุ่นแรก จำนวน 90 คน มี นายสถิต ไชยรัตน์ ครูตรีจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศได้รับแต่งตั้งมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ในขณะนั้น และได้ขอครูประชาบาลมาช่วยสอนสองท่าน คือ นายภิรมณ์ รอดสรี และนายโสภณ จิราสิต ต่อมาได้รับอัตราครูประจำการมาจำนวน 4 อัตรา [7]

วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2516 กรมสามัญศึกษา ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนอย่างเป็นทางการ โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์” (อังกฤษ: LansakaPrachasan School) มีอักษรย่อว่า ล.ส. มีคติพจน์ประจำโรงเรียนว่า “เรียนดี ประพฤติดี สามัคคี มีวินัย” มีปรัชญาประจำโรงเรียนว่า ปญญา วธเนน เสยโย ปัญญาดีกว่าทรัพย์ และใช้ สีเหลือง แดง เป็นสีประจำโรงเรียน[7]

ซึ่งในระหว่างที่อาศัยเรียนอยู่ที่วัดดินดอน ศึกษาธิการอำเภอลานสกาในขณะนั้น คือ นายพิณ สิงคีพงศ์ ได้ประสานงานระดมกำลังกันพัฒนา ปราบพื้นที่ สถานที่ซึ่งได้รับบริจาคให้เป็นที่สร้างโรงเรียน โดยได้รับการบริจาคที่ดินจำนวน 37 ไร่ 3 งาน 69 ตารางวา จากผู้บริจาค 5 ราย คือ นายสีนวล ตรีกำจร จำนวน 21 ไร่ 2 งาน 75 ตารางวา นายซุน ศรีใส จำนวน 13 ไร่ 2 งาน 24 ตารางวา นางหนูเจียร สถานสัตย์ จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 4 ตารางวา นายเลียบ ผกาศรี จำนวน 3 งาน 4 ตารางวา และนายแจ้ว ศรีใส จำนวน 2 งาน 62 ตารางวา [7]

โดยที่ดินได้รับการบริจาคตั้งอยู่บริเวณ เยื้องหน้าที่ว่าการอำเภอลานสกา ซึ่งขณะนั้นอยู่ในพื้นที่ของหมู่ที่ 6 ตำบลกำโลน (ต่อมา พ.ศ. 2545 ได้กำหนดแบ่งแยกพื้นที่ใหม่ของหมู่ที่ 6 เป็นสองหมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 6 เดิม และหมู่ที่ 11 ซึ่งบริเวณโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ อยู่ในเขตของหมู่ที่ 11 ตำบลกำโลนในปัจจุบัน) [7]

ในระยะเริ่มแรกบนที่ตั้งใหม่บริเวณเยื้องหน้าที่ว่าการอำเภอลานสกา ได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง จำนวน 6 ห้องเรียน โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียน และชาวบ้านในการช่วยกันสร้าง และร่วมกันบริจาควัสดุ แรงงาน ในขณะเดียวกันได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู จำนวน 1 หลัง ส้วม 1 หลัง [7]

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 ได้ย้ายสถานที่เรียนจากสถานที่ชั่วคราววัดดินดอน มาเรียนในพื้นที่ปัจจุบันบริเวณเยื้องหน้าที่ว่าการอำเภอลานสกา และได้ขยายปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งจำนวนนักเรียน บุคลการ อาคารเรียน และอาคารประกอบต่างๆ [7]

เมื่อมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายพื้นที่โรงเรียนออกไปอีก เพื่อให้เพียงพอกับการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ นายสถิตย์ ไชยรัตน์ ผู้บริหารในขณะนั้นได้ร่วมกับคณาจารย์ หารายได้โดยการออกร้านจำหน่ายอาหาร ในงานเดือนสิบ และเงินบริจาคของคณะอาจารย์ นำไปซื้อที่ดินขยายเพิ่มไปทางตะวันตก เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2527 จำนวน 5 ไร่ เป็นเงิน 200,000 บาท ทำให้ปัจจุบันจึงมีที่ดินจำนวน 42 ไร่ 3 งาน 69 ตารางวา [7]

โรงเรียนได้รับการวางรากฐานที่ดีมากจากนายสถิตย์ ไชยรัตน์ ผู้บริหารคนแรกของโรงเรียน ที่ได้วางรากฐานทั้งการวางผังแม่บท มีภูมิทัศน์ที่โดดเด่น สวยงาม ร่มรื่น รวมทั้งวัฒนธรรมองค์กร และการบริหารจัดการ ผู้บริหารสมัยต่อๆมาก็ได้สานต่อ เสริมสร้าง เติมเต็ม และพัฒนา มีจัดสร้างวัตถุถาวรสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในพื้นที่เพิ่มขึ้นทุกปี และทุกสมัยของผู้อำนวยการ โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์จึงได้รับการยกย่องให้เป็นโรงเรียนเรียนดีเด่นในด้านบรรยากาศสิ่งแวดล้อม อาคารสถานที่ และด้านการบริหารจัดการ ปีการศึกษา 2537 โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ได้รับรางวัลพระราชทาน และนางสาวสุนันทา เนาวกะ เป็นนักเรียนรับรางวัลพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมขนาดกลาง โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน เมื่อเดือน กรกฎาคม 2546 และได้ผ่านการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนต้นแบบ โครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ได้รับรางวัลพระราชทาน และนายณัฐพงศ์ สมพันธุ์ เป็นนักเรียนรับรางวัลพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมขนาดกลาง นอกจากนี้โรงเรียนได้จัดกิจกรรมชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษาจนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ และได้รับการประเมินให้เป็นโรงเรียนรักษามาตรฐานต้นแบบระดับเพชร จัดกิจกรรมรณรงค์และรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกโรงเรียน ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการและได้รับโล่รางวัลจากกรมส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ได้รับโล่งเกียรติยศเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดีเด่น และได้รับเกียรติบัตรพัฒนาเข้าสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับเพชร จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด และกิจกรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในส่วนของนักเรียน นายปฏิพันธ์ เจริญผล ได้รับประกาศเชิดชูเกียรติเป็น “ต้นแบบคนดีศรีแผ่นดิน” จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายวัชรพงศ์ เชี่ยววิทย์ ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติยกย่องว่า “มีความประพฤษดีงาม” เนื่องในวันวิสาขบูชา ประจำปี 2553 โดยพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย นางสาวณัฐกฤตา ทองพิจิตร ได้รับการคัดเลือกไปร่วมงาน Bristish Council Connecting Classrooms Expo ณ ประเทศไต้หวัน

นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนชาวลานสกาทุกคนมีความภูมิใจในโรงเรียนและนักเรียน ทุกคนมีความมุ่งมั่น และร่วมมือกันพัฒนาโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์มาโดยตลอด[7]

ป้ายด้านหน้าโรงเรียนก่อสร้างเมื่อ 3 มีนาคม 2554

จนกระทั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ในขณะนั้น มีดำริจะพัฒนาและสร้างโอกาสทางการศึกษา ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดยมองจากทำเลที่ตั้ง คุณภาพงาน ความสำเร็จในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งระยะทาง เป็นข้อมูลให้มีการพิจารณา[8] โดยคำนึงถึงจุดกระจายความเจริญ และพัฒนาการศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ในรูปแบบพัฒนาโรงเรียนคุณภาพให้กระจายอยู่ในต่างอำเภอ เป็น จตุรทิศ คือ

ทิศเหนือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราชทิศตะวันออก โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราชทิศใต้ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราชทิศตะวันตก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

โดยตามที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ โดยประวัติท่านมีเครือญาตที่อำเภอนี้ ใกล้วัดปะธรรมาราม เมื่อกล่าวถึงบารมีและเจตนาที่ดีต่อประเทศชาติ ถือเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความยั่งยืนของความเป็นไทยที่สุดขณะนั้น เมื่อประกอบกับท่านเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จึงเป็นเหตุผลอีกประการหนึ่งต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

การพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา การสั่งสมคุณงามความดี เกียรติยศ และคุณค่าทางการศึกษา ของโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ เป็นสิ่งที่ปรากฏ และเมื่อได้ร่วมพัฒนาอยู่ในเครือข่ายกับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ก็ยิ่งจะนำไปซึ่งความพร้อม โอกาส และความสำเร็จอันจะเป็นผลดีต่อ ชาวลานสกาประชาสรรค์ อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช สังคมการศึกษาทั่วไปเป็นส่วนรวม

วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ในขณะนั้น ได้ประกาศยกฐานะ“โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์”เป็นโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช เพื่อให้เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนากับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร [9] ในวันเดียวกันนี้โรงเรียนได้วางวางศิลาฤกษ์ป้ายนามโรงเรียนใหม่บริเวณด้านหน้าโรงเรียน โดยป้ายโรงเรียนได้รับแรงบันดาลใจมาจากเทือกเขาหลวงนครศรีธรรมราช

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 โรงเรียนได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ ก่อสร้างแท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ และประกอบพิธีเททอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๕ ) โดยมี ฯพณฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นประธานในพิธี ต่อมา วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ฯพณฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรีได้เข้าเยี่ยมโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช เป็นการส่วนตัว โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ตัวแทนนักเรียนให้การต้อนรับ

19 กันยายน พ.ศ. 2559 เมื่อได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แล้วเสร็จ โรงเรียนจึงได้อัญเชิญจาก มทบ.41 ค่ายวชิราวุธ (อัญเชิญมาจากกรุงเทพฯมาแล้วนำมาพักที่ มทบ.41 ค่ายวชิราวุธ) มายังโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช โดยในภาคกลางคืนมีงานสมโภชองค์พระรูป ร.๕ และสมโภชกฐิน และในเช้าของวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559 โรงเรียนได้ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ลงบนแท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 โรงเรียนได้ทำพิธีเปิดโรงอาหารใหม่ ขนาด 500 ที่นั่ง โดยมีนายอำเภอลานสกาเป็นประธานในพิธีเปิด นอกจากนี้โรงเรียนก็ได้รับงบประมาณปรับปรุงเรื่อยมาในด้านต่างๆ

ใกล้เคียง

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช http://www.thaigoodview.com/node/17197 http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view.ph... http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_bo... http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_st... http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_te... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.sk.ac.th/ http://www.sk.ac.th/index.php?option=com_content&t... http://www.skns.ac.th http://www.skns.ac.th/person-detail_118889